ผู้สมัครงาน
ตอบเลยว่า “ไม่ได้” ครับ แม้นายจ้างจะมีสิทธิ์โยกย้ายตำแหน่งงานของลูกจ้าง เพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานและความสำเร็จของธุรกิจ แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับลูกจ้างด้วย
1.ตำแหน่งที่ย้ายไปจะต้องไม่ต่ำกว่าเดิม เช่น หากเคยอยู่ในตำแหน่งที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษ อาจเป็นทักษะการใช้เครื่องมือ หรือทักษะด้านภาษา แล้วถูกย้ายไปตำแหน่งที่ไม่ได้ใช้ทักษะเหล่านั้นเลย ก็ถือว่าเป็นการย้ายไปตำแหน่งที่ต่ำกว่า
หรืออีกกรณีนึง ให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น เดิมเคยอยู่ในตำแหน่งงานระดับผู้จัดการ มีอำนาจในการบังคับบัญชาลูกน้องในแผนก แล้วถูกย้ายไปตำแหน่งระดับพนักงานที่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาใคร แม้เงินเดือนจะเท่าเดิม ก็ถือว่าเป็นการย้ายตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรมครับ
2.ค่าจ้างหรือเงินเดือนต้องไม่ต่ำกว่าเดิม ข้อนี้เป็นอันเข้าใจชัดเจนอยู่แล้ว ถึงจะย้ายไปตำแหน่งที่ได้ใช้ความสามารถเท่าเดิม แต่ก็ลดค่าจ้างไม่ได้นะครับ
ส่วนกรณีในช่วงสถานการณ์ที่นายจ้างได้รับผลกระทบ อย่างโควิด – 19 แม้จะอยู่ตำแหน่งเดิม แต่การลดค่าจ้างก็เป็นสิทธิ์ของลูกจ้างเช่นกัน ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ได้ และเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งตามมา ทั้ง 2 ฝ่ายควรพูดคุยและตกลงให้เข้าใจกัน พร้อมทำหนังสือชี้แจงเหตุผลและระยะเวลาการลดเงิน ให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบเพื่อแสดงความยินยอมด้วยนะครับ
สามารถปฏิเสธได้เลยครับ เช่น ไม่ยอมรับในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม ก็ไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งครับ แต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างด้วย
แต่ถ้านายจ้างจะเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างไม่ยอมทำงานในตำแหน่งที่ให้ย้าย (ตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม) ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งนายจ้างก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับลูกจ้างครับ
ทั้งนี้ แม้กฎหมายจะเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดให้ทุกคนทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่คำสั่งหรือข้อกำหนดของบางองค์กร ก็อาจไม่สามารถเป็นไปตามหลักกฎหมายได้ทั้งหมด
แต่อย่างไรแล้ว การพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงที่เข้าใจกันและเกิดความพอใจได้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีใครเอาเปรียบใคร ก็เป็นเรื่องที่ทำได้และควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ “การร่วมมือ” ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะครับ
เครดิต : ทนายฝ้าย – ทนายหนุ่ม คลินิกกฎหมายแรงงาน
https://www.facebook.com/labourlawclinique/
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved