ผู้สมัครงาน
ต้องบอกก่อนเลยนะคะ สูตรคำนวณการปรับค่าจ้างสิ้นปีที่ HR BUDDY นำมาฝากแฟน ๆ เป็นสูตรที่ใช้สำหรับกลุ่มที่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไปเมื่อ 1 ต.ค. นี้เท่านั้นนะคะ ซึ่งก็ผ่านมาไม่นาน แต่เป็นส่วนที่กฎหมายกำหนด ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตาม และเมื่อพูดถึงการทำงานครบปี องค์กรก็ต้องพิจารณาการปรับค่าจ้างเช่นกัน
แล้วจะปรับอย่างไรให้เหมาะสมกับองค์กรและพนักงาน เรามาเลือกดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
หมายเหตุ : ตัวอย่างที่นำมาคำนวณต่อไปนี้ เป็นค่าจ้างขั้นต่ำในกทม. ปัจจุบัน คือ วันละ 353 บาท หรือเดือนละ 10,590 บาท จากเดิมคือวันละ 331 บาท และเดือนละ 9,930 บาท
1 ปรับตามฐานค่าจ้างใหม่หรือฐานเงินเดือนใหม่ : เหมาะสำหรับองค์กรที่มีจำนวนพนักงานไม่เยอะมากที่เพิ่งได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ องค์กรอาจพิจารณาปรับค่าจ้างสิ้นปีให้ได้เลย
สูตรคำนวณ คือ ค่าจ้างใหม่ *%ปรับ
เช่น ปรับขึ้น 5% จะได้
353*5% = 17.65 สรุปค่าจ้างรายวันที่ปรับขึ้น 353 + 17.65 = 370.65 หรือ 371 บาท
10,590*5% = 529.50 สรุปเงินเดือนที่ปรับขึ้น 10,590 + 529.50 = 11,119.50 หรือ 11,120 บาท
2 ปรับโดยใช้ฐานเงินเดือนเดิม แล้วเอามารวมกับฐานเงินเดือนใหม่ : เหมาะสำหรับองค์กรที่มีพนักงานเยอะกว่าข้อ 1 และมองว่าฐานเดิมซึ่งพนักงานได้รับมานานกว่า ก็ควรนำมาใช้คำนวณ
สูตรคำนวณ คือ ค่าจ้างเดิม *%ปรับ นำผลลัพธ์ไปรวมกับค่าจ้างใหม่
เช่น ปรับขึ้น 5% จะได้
331*5 = 16.55 สรุปค่าจ้างรายวันที่ปรับขึ้น 353 + 16.55 = 369.55 หรือ 370 บาท
9,930*5 = 496.50 สรุปเงินเดือนที่ปรับขึ้น 10,590 + 496.50 = 11,086.50 หรือ 11,087 บาท
3 ปรับตามฐานเดิม 9 เดือน อีก 3 เดือนใช้ฐานใหม่ : เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการวิธีปรับที่ละเอียดมากขึ้น คือการนำระยะเวลาในการทำงานจริงของค่าแรงแต่ละช่วงมาคำนวณ
สูตรคำนวณ คือ ค่าจ้างเดิม *%ปรับ *9/12 และ ค่าจ้างใหม่*%ปรับ *3/12 แล้วนำผลลัพธ์ไปรวมกัน
เช่น ปรับขึ้น 5% จะได้
331*5 = 16.55 *9/12 = 12.41 นำผลลัพธ์ไปรวมกับ 353*5% = 17.65 *3/12 = 4.41
สรุปค่าจ้างรายวันที่ปรับขึ้น 12.41 + 4.41 = 16.82 + 353 = 369.82 หรือ 370 บาท
9,930*5 = 496.50 *9/12 = 372.38 นำผลลัพธ์ไปรวมกับ 10,590*5% = 529.50 *3/12 = 132.38
สรุปเงินเดือนที่ปรับขึ้น 372.38 + 132.38 = 504.76 + 10,590 = 11,094.76 หรือ 11,095 บาท
4 ค่าจ้างเดิม *9 + ค่าจ้างใหม่ *3 แล้วนำมา /วัน หรือ /เดือน และ *%ปรับ : เหมาะสำหรับองค์กรที่นิยมวิธีการหาค่าตรงกลางก่อน แล้วจึงนำมาพิจารณาปรับ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเวลาและจำนวนวันทำงานของแต่ละคน
เช่น ปรับขึ้น 5% จะได้
331*9 = 2,979 + 353*3 = 1,059 ผลรวมคือ 2,979 + 1,059 = 4,038 /12 = 336.5 *5% = 16.83
สรุปค่าจ้างรายวันที่ปรับขึ้น 16.83 + 353 = 369.83 หรือ 370 บาท
9,930*9 = 89,370 + 10,590*3 = 31,770 ผลรวมคือ 89,370 + 31,770 = 121,140/12 = 10,095*5% = 504.75
สรุปเงินเดือนที่ปรับขึ้น 10,590 + 504.75 = 11,094.75 หรือ 11,095 บาท
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดของแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้าง ต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมหรือสไตล์การบริหารองค์กรด้วย และการพิจารณาเลือกวิธีปรับค่าจ้าง ก็ควรเป็นงานของ HR ร่วมกับผู้มีอำนาจตัดสินใจเท่านั้น เมื่อตัดสินใจเลือกแล้ว จึงดำเนินการและชี้แจงเพียงวิธีการที่ดำเนินการเท่านั้น
ปล. 4 สูตรที่กล่าวมานี้ สามารถใช้คำนวณในการจ่ายโบนัสได้ด้วยนะคะ
องค์กรคุณเป็นแบบไหน ? อย่าลืมนำไปปรับใช้ดูค่ะ
ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
Website : www.senmentor.com
Line : wisebrown
Tel : 081-820-9271
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : [email protected]
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved