ผู้สมัครงาน
ไม่มีใครเป็น “สนามอารมณ์” ของใคร ทุกคนต่างมี “ความรู้สึก” โดยเฉพาะความรู้สึกทางใจซึ่งถ้าเกิดเป็นบาดแผลแล้ว การรักษานั้นยากกว่าบาดแผลบนร่างกาย
พฤติกรรมการทำให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นสนามอารมณ์ เป็นการป้องกันตนเองในรูปแบบ “การย้ายที่” (Displacement) คือ การย้ายความรู้สึกด้านลบ เช่น โกรธ โมโห เครียด ไปที่อื่นที่รู้สึกว่าปลอดภัยและรู้ว่าตัวเองสามารถระบายความรู้สึกได้เต็มที่ ซึ่งอาจเป็นคนรอบข้างหรือสิ่งของ
ขอบคุณข้อมูล https://www.facebook.com/811143107240694/posts/966894941665509
สาเหตุที่ทำให้หัวหน้าโมโหใส่ลูกน้อง
ความเครียด: เมื่อต้องเผชิญกับความเครียดจากงาน ปัญหาส่วนตัว หรือความกดดันจากผู้บริหาร ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ยาก
ความคาดหวัง: หัวหน้าคาดหวังผลงานจากลูกน้องสูง เมื่อผลงานไม่เป็นที่พอใจ ก็มักทำให้เกิดความโมโหและผิดหวัง
การสื่อสารที่ผิดพลาด: บางครั้งมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ทำให้ลูกน้องเข้าใจผิดและทำงานไม่ตรงตามต้องการ
ปัญหาส่วนตัว: หัวหน้าอาจมีปัญหาส่วนตัวที่ทำให้เครียด ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม
นิสัย: บางคนมีนิสัยโมโหร้าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ยาก
ผลกระทบที่ตามมา
บรรยากาศการทำงาน: พนักงานรู้สึกอึดอัด ไม่มีความสุข กลัว และไม่อยากมาทำงาน
ประสิทธิภาพการทำงาน: พนักงานไม่มีสมาธิ ทำงานผิดพลาด และประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ความสัมพันธ์: ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องแย่ลง เกิดช่องว่าง และความไม่ไว้วางใจ
การลาออก: พนักงานอาจลาออกเพื่อไปหางานใหม่ที่บรรยากาศการทำงานดีกว่า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจ หรืออาจเรียกว่า “ต้องทำใจ” คือ ความโมโหอาจเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากสำหรับบางคน แต่ถ้าเราตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมา จะช่วยให้สามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น และหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงอารมณ์ออกมาแล้ว การขอโทษจากใจจริง ก็ช่วยทำให้บรรยากาศตรงนั้นดีขึ้นได้นะคะ
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : [email protected]
อัปเดตความรู้สำหรับคนหางาน คนทำงาน สามารถติดตามได้ที่ https://jobbkk.com/go/kr0ws
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved