ผู้สมัครงาน
ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ตำแหน่งงานในเว็บ JOBBKK.COM โตขึ้นทุกวัน ปีที่แล้วผู้ประกอบการต้องการรับคนโดยเฉลี่ยบนหน้าเว็บไซต์ประมาณ 120,000 อัตรา ปีนี้สูงถึงประมาณ 150,000 อัตรา ก็คือมีความต้องการแรงงานมากขึ้น แต่ในฝั่งตรงข้าม ปีที่แล้วเรามี Resume ในฐานข้อมูลประมาณ 7,800,000 คน ปีนี้กว่า 9,000,000 คน ปัญหาที่เจอก็คือ Resume และผู้ประกอบการไม่ยอมจับคู่กัน
3 ปีที่ผ่านมา HR เปลี่ยนวิธีในการหาคน เมื่อก่อนเราจะใช้ Time to fill ในการเติมคนเข้าสู่องค์กรให้เร็วมากขึ้น เมื่อมีการลาออกหรือมีตำแหน่งที่ต้องการเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการจะพิจารณาในประเด็น Quality of Hire ซึ่งก็คือเขาต้องเจอคนที่มีคุณภาพ เนื่องจากเราเพิ่งผ่านวิกฤตเศรษฐกิจโลกมาเพียงไม่กี่ปี บริษัทจึงต้องระมัดระวังในการใช้เงิน ซึ่งถ้าไม่ใช่ตำแหน่งที่อยู่ในส่วนหน้าที่ต้องเจอกับคน ให้บริการลูกค้าเพื่อหารายได้เข้าบริษัท เขารอได้ เพื่อให้ได้เจอคนที่มีคุณภาพ
ด้วยกระบวนการเรียนการสอนของปริญญาตรีกับปวช.และปวส.มีความต่างกัน ระหว่างตอนที่เรียน ปวช.กับ ปวส.จะมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับผู้ประกอบการ ได้ลงมือ ได้เจอปัญหาจริงๆ ในบริษัทมากกว่าปริญญาตรี การเข้าสู่ตลาดงานของ ปวช.หรือ ปวส.เมื่อจบการศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับเขา
อีกประเด็นก็คือเรื่องค่าจ้างและการเลือกงานของวุฒิปวช.และปวส.จะน้อยกว่าปริญญาตรี ปัญหาการตกงานของวุฒิปริญญาตรีจึงเกิดขึ้น
ถ้าเป็นในระดับอุดมศึกษา เราจะเจอในรูปแบบ Work-based Education ก็คือการเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย หรือ WIL (Work Integrated Learning ) ที่ผมเข้าไปร่วมกับหลาย ๆ มหาวิทยาลัย หรือบางมหาวิทยาลัยที่ทำในรูปแบบของการฝึก Skills ให้ดีขึ้น ซึ่งก็คือ Co-operative Education หรือสหกิจศึกษา แต่สมัยก่อนก็จะใช้ในรูปแบบของการฝึกงานซึ่งระยะเวลามันสั้นมาก ก็คือตอนปี 4 ใน 3-4 เดือนสุดท้าย นักศึกษาปริญญาตรีก็จะได้เจอปัญหาหรืออุปสรรคน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับตอนทำงานจริง
Multi Skills ที่ผู้ประกอบการต้องการเป็น Skills ที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน แต่การศึกษาเราส่วนใหญ่ในสามสี่ปีเราอยู่แต่ในห้องเรียน และองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่นำเข้ามาให้นักศึกษาในปีที่ 3 หรือ 4 ก็ทำให้นักศึกษามีเวลาเจอ Skills ใหม่ๆ นั้นเพียงแค่ประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งไม่พอที่จะทำให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ในความอดทนและมีความสามารถในการแก้ปัญหา
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการในการทำงานคือ Problem Solving หรือการแก้ปัญหา แต่ปัจจุบันผู้ประกอบต้องการ Complex Problem Solving เพราะเมื่อเป็น Multi Skills แล้ว คุณต้องแก้ปัญหาทุก ๆ อย่างที่เข้ามา และในขณะเดียวกันก็ต้องผสมผสานในเรื่องของ STEM Education เข้ามาด้วย เพราะปัจจุบันเราปฏิเสธเรื่องนี้ไม่ได้ถ้าจะเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งองค์ความรู้นี้ไม่ว่าจะคนทำงานในปัจจุบันหรือเด็กที่กำลังจะเรียนจบ ต้องเอาศาสตร์เหล่านี้ไปเป็นส่วนผสมและบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้หลักที่ตัวเองเรียนมาให้เหมาะสม ถึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการทำงานยุค 4.0
Google บอกว่ามี Algorithm ที่สามารถใช้เวลาเพียงนิดเดียวในการดู MRI ของผู้ป่วยแล้วสามารถวิเคราะห์ได้เลยว่าคนนี้เป็นโรคอะไร แต่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยเองได้ ต้องใช้เวลาในการเรียนและใช้เวลาในการเก็บประสบการณ์มากกว่า
การเข้ามาแทนที่จะมีอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้เห็นภาพก็ต้องมาดูภาวะของตลาดแรงงานในไทย จริงๆ เราแบ่งแรงงานออกเป็น 3 ส่วน เพื่อไป Match ว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่ตรงไหนได้บ้าง
ส่วนแรกก็คือ แรงงานที่ไม่มีทักษะ (Unskilled Labor) เป็นคนทำงานในลักษณะที่ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขาก็จะรับการ Train นิดเดียว ไม่ต้องมีทฤษฎีและปฏิบัติเยอะ ซึ่งกลุ่มนี้ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 20 % , กลุ่มที่ 2 แรงงานกึ่งทักษะอาชีพ (Semiskilled Labor) มีเยอะมากที่สุด กลุ่มนี้จะมีทักษะและปฏิบัติงานได้บางอาชีพ ซึ่งก็น่าจะตั้งแต่ประถม มัธยม จนถึงปริญญาตรี ปวช. ปวส. นิดหน่อย และกลุ่มที่ 3 หรือกลุ่มที่ต้องการสูงในยุค 4.0 คือ แรงงานปฏิบัติและทฤษฎี (Skilled Labor) ต้องปฏิบัติได้โดยมีความรู้ในทฤษฎีและตัดสินใจได้เอง
ส่วนหุ่นยนต์หรือ Machine จะแบ่งเป็น 3 กระบวนการในการมาแทนที่ โดยใน Phase แรกที่เห็นในอุตสาหกรรม 4.0 ทั่วๆ ไปคือจะมาแทนที่ในส่วนของ มือ แขน และขา เช่น การบรรจุหีบห่อ หุ่นยนต์จะทำได้ ซึ่งก็คือแทนที่กลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะ (Unskilled Labor) จากนั้นสักระยะนึงเมื่อหุ่นยนต์ทำงานที่ซ้ำๆ เดิมๆ ไม่ต้องใช้ Brain Power ได้ Phase สองหุ่นยนต์จะมาแทนที่สมอง สามารถคิดแทนคนได้เลย ซึ่งปัจจุบันกว้างขวางมาก มันอยู่ใน Software และ Application อย่างที่เราใช้กันบ่อยก็คือเว็บ E-commerce ซึ่งมี AI หรือ Machine Learning ที่รู้ได้เลยว่าเราสนใจอะไร แล้วมันก็จะตามไปหลอกหลอนเรื่อยๆ นี่คือ Algorithm ที่เป็นสมอง ซึ่งจะ Impact ตั้งแต่แรงงานระดับบนถึงล่าง และสิ่งเดียวในอนาคตสักประมาณ 20 – 30 ปี แต่นักวิจัยก็กำลังถกเถียงกันอยู่ว่าจะมาแทนที่ได้จริงรึเปล่าก็คือ หัวใจ แต่มนุษย์เกิดจากปฏิกิริยาเคมีและพลังงานไฟฟ้า ถึงกำเนิดมาเป็นอารมณ์และความรู้สึกได้ บางศาสตร์ก็บอกว่าอาจจะได้แต่ต้องใช้เวลา บางศาสตร์บอกว่ายังไม่ได้
สมมติว่าเราไปขาย Product ชิ้นนึงกับลูกค้า เราให้ระบบอัตโนมัติ Call Center โทรไป ลูกค้าอาจวางสายทันที แต่ถ้าให้คนโทรไปเขาก็จะฟังก่อน และเมื่อใช้ใจในการขายเรื่อยๆ ในวันหนึ่งลูกค้าก็ต้องใจอ่อน
ยกตัวอย่างอีกเรื่องนึงที่ต้องใช้ใจและความน่าเชื่อถือของคน อย่างเครื่องบินในปัจจุบันก็สามารถขับเองได้ Auto Pilot ได้ระดับนึงแล้ว แต่ปัญหาคือ ถ้าไม่มีกัปตันเป็นคนขับ เราจะกล้านั่งไหม
นอกจากงานที่ต้องใช้ “ใจ” อีกส่วนหนึ่งในอนาคตคือเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่หุ่นยนต์จะไม่สามารถมาแทนที่ได้ เพราะ “คน” เมื่ออยู่ในสภาวะกดดัน ถูกบีบคั้นระดับนึงหรือในสภาวะที่ผ่อนคลาย คนจะเกิดจินตนาการ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา แต่เด็กรุ่นใหม่เข้าใจคำว่า “จินตนาการ” ผิด ผมขอฝากนิดนึงครับ แม้ Albert Einstein จะบอกว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” แต่เด็กรุ่นใหม่ยังไม่มีความรู้ไปจินตนาการ แบบนี้อันตรายนะครับ เพราะข้อสำคัญของการจินตนาการที่แท้จริง คือ เราต้องมีความรู้ก่อนจึงจะสามารถนำองค์ความรู้นั้นไปต่อยอดเป็นจินตนาการ
สิ่งแรกคือเราต้องดูตัวเองก่อน แล้วเราก็ไปดูว่าศาสตร์และทักษะชิ้นไหนที่เป็นที่ต้องการในปัจจุบัน ซึ่งผมคิดว่า Trends คงหนีไม่พ้น Machine Learning , Data Analytics , Artificial Intelligence หรือว่าระบบอัตโนมัติ ซึ่งมันอยู่ในศาสตร์ของ STEM Education ที่ผมบอกในตอนต้น เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล , R&D , Software Development , IT คือสิ่งที่ 4.0 ต้องการ ฉะนั้นเมื่อคุณรู้แบบนี้แล้ว หาตัวเองเจอแล้ว วิ่งเข้าไปเลยครับ ซึ่งยุคนี้ไม่ต้องเข้ามหาลัยก็ได้ เพราะเรามีแหล่งความรู้รอบตัวเยอะ ไม่ว่าจะเป็น Google , Youtube หรือมหาลัยแห่งการเรียนรู้มากมายที่เป็น Online หลายๆ Brands ที่เป็น Application หรือ E-Book ก็ได้ครับ คุณเติมได้อัตโนมัติเลย ผมเองก็เติมองค์ความรู้พวกนี้อยู่เยอะมาก
สิ่งนี้สำคัญมากครับ เพราะมันหมดยุคของ Command แล้ว เราต้อง Inspire ไม่ใช่นั่งอยู่เฉยๆ รอรับคำสั่ง ตอนไปฝึกงานก็เหมือนกัน จะรอให้รุ่นพี่หรือหัวหน้างานมาสั่ง มันไม่ได้แล้ว เพราะผมคิดว่า ความสามารถขของมนุษย์มันเหนือขีดจำกัด ซึ่งถ้าเราอยู่แต่ใน Comfort Zone อยู่แต่กับสิ่งที่สะดวกสบายทั้งหมด มันก็ไม่เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือการ Inspire เอาสิ่งใหม่ๆ ออกมา
เรื่องนี้ผมทำไว้ในงานวิจัย เป็นบทความที่ผมเขียนไว้ สิ่งแรกเลยคือ งานประจำจะถูกเปลี่ยนไปเป็นงาน Part Time คุณสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ฉะนั้นองค์กรจะต้องทำ IT Transformation เพื่อให้เกิด Dynamics Workplace ผมยกตัวอย่างง่ายๆ พนักงาน JOBBKK ประมาณ 200 กว่าคน เราให้พนักงานกลับบ้านหมดแล้ว มี Notebook 1 เครื่อง มีมือถือ 1 เครื่อง สามารถทำงานได้หมดเลย
แล้วงานในอนาคตที่เรียกว่า Gig Economy ที่คุณสามารถทำงานได้อย่างน้อย 2 งาน ซึ่งก็คือ แม้จะทำงานประจำหรืองานที่เป็น Task แล้ว คุณจะมีเวลาที่สามารถไปทำงานอย่างอื่นได้อีก ฉะนั้นงานที่ตามมาในอนาคตทันทีคืองาน Freelance ที่สามารถรับงานจากที่ไหนก็ได้ และเด็กเก่งๆ ปัจจุบันไม่เข้า Office แล้ว เขารับงาน Freelance อยู่ที่บ้าน
ตามข้อมูลที่มีมา บางส่วนปรับแล้ว แต่ 2 ปีที่แล้วระยะเวลาการทำงานคือวันละ 8 ชั่วโมง 6 วัน เราทำงานวันเสาร์ด้วย ปัจจุบันมีส่วนที่ทำงานวันเสาร์ประมาณ 10% ส่วนใหญ่คือเหลือวันละ 8 ชั่วโมง 5 วัน
แต่จากที่ผมไปศึกษาจากงานวิจัยหลายๆ ฉบับของอเมริกาหรือยุโรป เขาเหลือแค่วันละ 6 ชั่วโมง 5 วัน เวลาที่เหลือจากนี้คือมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน ฉะน้นเขาก็สามารถทำเฉพาะงานที่เพิ่มมูลค่าที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนได้ ซึ่งก็คือทำงานน้อยลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อคนทำงานจากที่ไหนก็ได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในอนาคตก็คือ Digital Workplace เวลาจะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญอีกแล้ว เราทำ Time Attendance จากที่ไหนมาก็ได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือมีการแบ่งงาน เพื่อทำ Collaboration มาจากแต่ละที่ และทำงานพร้อมตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ประกอบการบางคนคิดว่า ถ้าทำงานแบบนั้น เราจะควบคุมพวกเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่อยู่ในเวลาทำงาน แต่เมื่อทำ IT Transformation ออกไปแล้วมีระบบที่ชัดเจน เราจะมี Self-driven ซึ่งเป็นอีก Skills ที่สำคัญ คนทำงานจะมี Skills บังคับตัวเองให้ทำงานเพื่อสร้างผลงาน ซึ่งเป็นผลดีทั้งกับองค์กรในการประหยัดค่าใช้จ่ายและดีต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงานด้วยครับ
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved